การทำวิจัยด้านการเงิน

การทำวิจัยการเงิน Finance Research

เทคนิค วิธีการ การทำวิจัยการเงิน

การทำวิจัยการเงิน คือ กระบวนการศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตลาดการเงิน ตลาดทุน เช่น หลักทรัพย์ พันธบัตร ตราสารหนี้ฯลฯ รวมไปถึงการศึกษาเกี่ยวกับผลการดำนเนินงานทางการเงินขององค์กร ทั้งองค์กรรัฐ และองค์กรธุรกิจเอกชน รวมถึงการเงินส่วนบุคคล ผลการศึกษาวิจัยทางการเงิน จะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น สำหรับใช้ในการวางแผนทางการเงิน หรือการดำเนินกลยุทธ์ทางการเงิน ที่มีประสิทธิภาพต่อไป

ความรู้ทางด้านการเงิน เกี่ยวข้องกิจกรรมการจัดการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการได้มาซึ่งเงินทุน และแลกเปลี่ยนทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น เงิน สินทรัพย์ การลงทุน หลักทรัพย์ ฯลฯ การเงินไม่ได้จำกัดอยู่ที่เพียงการแลกเปลี่ยนหรือการจัดการเงิน มันมีอะไรมากกว่านั้น

ดังนั้นสำหรับผู้เรียนปีสุดท้ายที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ส่งอาจารย์ หัวข้อวิทยานิพนธ์เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินว่าวิทยานิพนธ์ของคุณน่าสนใจหรือไม่ การเลือกหัวข้อที่ดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง การเงินแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก การเงินส่วนบุคคล องค์กร และสาธารณะ ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้เป็นส่วนที่จำเป็นของการเงินและสามารถจำแนกได้เป็นหมวดหมู่ย่อยต่างๆ การเงินมีการแบ่งเป็นภาคย่อยๆมากมาย

การทำวิจัยการเงิน
การทำวิจัยการเงิน

จากประสบการณ์ รับทำวิจัย การเงิน การบัญชี เศรษฐศาสตร์การเงิน สามารถสรุปเทคนิคในการทำงานวิจัยที่สำคัญไว้ดังนี้

5 เทคนิค การทำวิจัยด้านการเงิน

  1. เลือกหัวข้อวิจัย หัวข้อวิจัยการเงิน ที่ดี ควรทันสมัย น่าสนใจ ไม่คลุมเครือ
  2. ทบทวนวรรณกรรม  การทบทวนวรรณกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยทางการเงินที่เกี่ยวข้อง เช่น  ทฤษฎีการลงทุน การบริหารการเงิน การเงินธุรกิจ การบริหารความเสี่ยง ที่สำคัญคือ การวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัยการเงิน (ในขั้นตอนที่1) ให้ตกผลึก และมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เกี่ยวกับเรื่อง หรือหัวข้อวิจัยที่สนใจนั้นๆ
  3. การหาช่องว่างการทำวิจัย (Research Gap  เนื่องจากการทำวิจัยทุกประเภท รวมทั้ง วิจัยการเงิน มักจะมีเนื้อหา มีหัวเรื่อง มีตัวแปร ที่อาจจะมีการทำเรื่องเหล่านั้นไว้แล้วในอดีต อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยสามารถที่จะต่อยอดการทำวิจัยเก่า ได้ด้วยการหาช่องว่างของการทำวิจัย ที่เคยมีมาแล้วในอดีต ให้สมบูรณ์หรือทันสมัยมากยิ่งขึ้น
  4. การสร้างตัวแปรในกรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย (Conceptual Framework) การสร้างกรอบแนวคิดงานวิจัย เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับการทำวิจัยทุกประเภท รวมทั้งวิจัยการเงิน เนื่องจากเป็นตัวกำหนดรูปแบบและแนวทางในการกำหนดความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม ซึ่งจะต้องมีการกำหนดสมมติฐาน หรือ แบบจำลองที่ใช้ในการวัดความสัมพันธ์เหล่านั้นต่อไป
  5. การเลือกแบบจำลอง สถิติ และเศรษฐมิติ ที่ถูกต้อง  เนื่องจากโดยทั่วไป ลักษณะหรือรูปแบบของการทำวิจัยการเงิน จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลประเภท ข้อมูลอนุกรมเวลา (Time Series Data) ซึ่งเป็นข้อมูลประเภททุติยภูมิ (Secondary Data) โดยการเลือกใช้สถิติ แบบจำลอง และเศรษฐมิติ มักจะมีความสลับซับซ้อนมากกว่าการทำวิจัยสังคมศาสตร์อื่นๆ ผู้วิจัยควรทำการศึกษาและทำความเข้าใจ ปัจจัยเหล่านี้ให้ตกผลึก เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ผลการศึกษาได้อย่างถูกต้อง

 

Tags : รับปรึกษางานวิจัย รับติวงานวิจัย รับสอนงานวิจัย รับทำวิจัย รับทำงานวิจัย รับทำสารนิพนธ์ รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับจ้างทําวิจัย รับจ้างทำสารนิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำ thesis รับทำสารนิพนธ์ราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ราคาถูก รับทำดุษฎีนิพนธ์ราคาถูก  รับทำวิจัย ป.โท  รับทำวิจัย ป.เอก  รับทำวิจัย ราคา  รับทำวิจัยth รับทำสารนิพนธ์th รับทำวิทยานิพนธ์th รับทำดุษฎีนิพนธ์th การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำสารนิพนธ์ จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทำงานวิจัย จ้างทำวิจัยราคา จ้างทำวิจัยราคาประหยัด จ้างทำวิจัยราคาเท่าไหร่ ทำวิจัย ทำสารนิพนธ์ ทำวิทยานิพนธ์ ทำดุษฎีนิพนธ์ ทำปริญญานิพนธ์ ทำผลงาน ทำผลงานปรับระดับ ทำผลงานปรับตำแหน่ง เทคนิคการทำวิจัย การทำผลงานเลื่อนวิทยฐานะ จ้างทำวิจัย

Scroll to Top